ระบบภาพเสียง, ระบบภาพฉาย,ระบบเสียง,ชุดประชุม,ไมค์ประชุม) ==>
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การกำเนิดสัญญาณภาพ

การกำเนิดสัญญาณภาพ



การกำเนิดสัญญาณภาพ
การกำเนิดสัญญาณภาพนั้น กล้องถ่ายภาพ เรียกว่า แคมเมอร่าทิ้ว นั้นจะดำเนินการถ่ายภาพต่างๆเช่น คน วิว หรือวัตถุต่างๆ กล้องถ่ายจะเปลี่ยนจากภาพต่างๆ มาเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าของภาพ ซึ่งเรียกว่า วิดีโอซิกแนล แล้วก็จะนำเอา วิดีโอซิกแนล นี้ไปขยายให้มีกำลังสูงขึ้นในภาค วิดีโอแอมป์ ต่อไปและในขณะเดียวกัน จะนำเอาสัญญาณวิดีโอซิกแนลที่ได้นี้ไปรวมกับสัญญาณควบคุมเพื่อบังคับ การสแกน ซึ่งสัญญาณนี้เรียกว่า ซิงค์โครไนเซซั่น นั้นหมายความว่าสัญญาณ วิดีโอซิกแนล จะรวมกันอยู่ในสัญญาณซิงค์โครไนเซซั่น และสัญญาณนี้จะเป็นสัญญาณภาพที่สมบูรณ์ เรียกว่า คอมโพสิตวิดีโอ ซิกแนล การมอดูเลชั่น เนื่องจากวิดีโอซิกแนล ไม่สามารถจะออกอากาศได้ ดังนั้นจึงต้องนำไปรวมกับคลื่นพาหะเสียก่อน ซึ่งเรียกว่า แคร์เรีย หรือนำไปรวมกับคลื่นวิทยุ เมื่อนำเอาวิดีโอซิกแนล ไปรวมกับ แคร์เรีย จึงเรียกสัญญาณนี้ว่า วิดีโอแคร์เรีย การมอดูเลชั่นด้านภาพ เป็นการมอดูเลชั่น แบบ เอ-เอ็ม วิดีโอแคร์เรีย กำลังยังน้อยมากจะต้องนำไปขยายให้มีกำลังเพียงพอต่อความต้องการ ในวงจร อาร์ เอฟ แอมป์ก่อนและเมื่อวิดีโอแคร์เรีย ถูกขยายแล้วก็จะส่งไปที่สายอากาศ เพื่อให้สายอากาศกระจายสัญญาณ วิดีโอแคร์เรีย ออกอากาศ

ด้านสัญญาณเสียง 
ไมโครโฟนเมื่อมีสัญญาณเสียงจากแหล่งต่างๆนะครับ เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี ไมโครโฟนนี้ ก็จะทำหน้าที่ เปลี่ยนจากเสียงมาเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าของเสียงครับ ซึ่งเราเรียกว่าซาวด์ซิกแนล เนื่อง จากซาวด์ซิกแนล มีกำลังน้อยมากนะเราจึงต้องนำไปขยายให้มีกำลังสูงขึ้น ในภาคออดิโอแอมป์ ก่อน เพื่อให้ซาวด์ซิกแนล มีกำลังตามต้องการ การมอดูเลชั่น ซาวด์ซิกแนล ไม่สามารถออกอากาศได้ จะต้องนำไปรวมกับคลื่นวิทยุเสียก่อน เมื่อนำเอาซาวด์ซิกแนล ไปรวมกับแคร์เรีย เราจึงเรียกสัญญาณนี้ว่า ซาวด์แคร์เรีย การมอดูเลชั่น ด้านสัญญาณเสียงเป็นแบบ เอฟ-เอ็ม ซาวด์แคร์เรีย นำไปขยายให้มีกำลังเพียงพอต่อความต้องการในภาค อาร์-เอฟแอมป์ เมื่อ ซาวด์แคร์เรีย ถูกขยายแล้ว ก็จะส่งสัญญาณไปที่สายอากาศ เพื่อให้สายอากาศกระจายสัญญาณ ซาวด์แคร์เรีย ออกอากาศไป






รูปกล้องถ่ายวิดีโอ ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้า
การที่จะรับและส่งข้อมูลข่าวสารมีได้หลายวิธี แต่การที่จะรับและส่งข้อมูลได้ดีคือ การที่ผู้รับสามารถรับข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์ เป็นการส่งข้อมูลอีกวิธีหนึ่งที่สามารถที่ให้ผู้รับได้ทั้งข้อมูลทางภาพและทางเสียง เหมือนกับแหล่งที่มา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือการแพร่ภาพโทรทัศน์แบบ แอนะล็อก และการแพร่ภาพโทรทัศน์แบบดิจิตอล ซึ่งการแพร่ภาพในแต่ละประเภทสามารถรับและส่งข้อมูลได้หลายแบบ เช่น การส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิล การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม และ การส่งสัญญาณภาคพื้นดิน ซึ่งอาจจะมากจากการถ่าย ทอดสดหรือจากการบันทึกเทปไว้
โทรทัศน์ (television)
การถ่ายทอดเสียงและภาพพร้อมกันจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยเครื่องที่เปลี่ยนสัญญาณภาพและเสียงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า เครื่องส่งโทรทัศน์ และเครื่องที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสัญญาณภาพและเสียง เรียกว่า เครื่องรับโทรทัศน์
ประเภทของโทรทัศน์
โทรทัศน์แอนะล็อก (analog television)โทรทัศน์แอนะล็อกเป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปสัญญาณแอนะล็อกแบบA.M. และ F.M.โดยส่งเป็นสัญญาณแม่เหล็ก ไฟฟ้า โทรทัศน์ชนิดนี้เป็นโทรทัศน์ที่มีการใช้งานทั่วไป เช่น โทรทัศน์ระบบ NTSC PAL SECAM
โทรทัศน์ดิจิตอล (digital television)
โทรทัศน์ดิจิตอลเป็นโทรทัศน์ที่มีรูปแบบมาตรฐาน พัฒนามาจากโทรทัศน์แอนะล็อกมีระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบดิจิตอลคือส่งข้อมูลเป็นบิต การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถ ส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบแอนะล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ จึงเรียกได้อีกอย่างว่า multicasting การ ส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย เช่น โทรทัศน์ระบบHDTV








รูปภาพของ HDTV
ประวัติความเป็นมาของโทรทัศน์
จากบันทึกในTelevision Technology Demystified ได้ระบุว่าการเริ่มต้นของโทรทัศน์เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2416 จากการที่ Leonard May พนักงานโทรเลขชาวไอริช ได้ค้นพบสารเซเลเนียมที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้เกิดความคิดในการ เปลี่ยนสัญญาณภาพให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ต่อมาในปีพ.ศ. 2427 Paul Nipkow นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้คิดค้นหลักการสแกนภาพที่ใช้ระบบจานหมุนแบบกลไกเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี 2454 Campbell Swinton ได้นำหลอดรังสีแคโทดมาใช้ ในการรับส่งภาพของการสแกนภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้กลายเป็นแนวความคิดให้ Vladimir Zworykinประดิษฐ์ iconoscopeซึ่งทำหน้าที่เก็บรูปและสแกนรูปไว้เป็นสัญญาณไฟฟ้าหลายๆเส้น ในปี 2466 และในปี 2467 Vladimir Zworykinได้ประดิษฐ์ kinescope ซึ่งทำหน้าที่นำสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จาก iconoscope มายิงบนจอเรืองแสงที่มีตำแหน่งสอดคล้องกัน และในปี พ.ศ.2468 ได้มีนักวิทยาศาตร์สองคนคือJohn Logie Baird ชาวอังกฤษ และCharles Francis Jenkins ชาวอเมริกันได้ทำการทดลองส่งภาพเงาโดยไม่ใช้สายซึ่งเป็นการทดลองออกอากาศครั้งแรกโดยใช้จานหมุนของ Paul Nipkow ต่อมาได้มีการพัฒนานำเอาระบบสีมาใช้ร่วมกับจานหมุน Nipkow โดยในปี พ.ศ.2471 John Logie Baird ได้นำแผ่นกรองสีมาแยกสัญญาณสีได้สำเร็จโดยใช้จานหมุนแยกสีในการแยกสัญญาณออกเป็นสีพื้นฐาน 3 สีคือ แดง เขียว และน้ำเงิน






รูปที่ Paul Nipkow และจานหมุนของ Nipkow
ซึ่งการแพร่ภาพโทรทัศน์ขาว-ดำ เป็นครั้งแรกของโลกได้เกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษในปีพ.ศ.2479 และการแพร่ภาพโทรทัศน์สีเป็นครั้งแรกของโลกได้เกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2497

การแพร่ภาพ (television broadcasting)
การส่งกระจายภาพและเสียงออกไปในรูปสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การแพร่ภาพโทรทัศน์ ซึ่งจากเดิมที่เป็นการแพร่ภาพแบบไม่จำกัดผู้รับก็ได้พัฒนามาเป็นแบบแพร่ภาพเฉพาะทาง เช่น การแพร่ภาพโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม การแพร่ภาพโทรทัศน์ผ่านสื่อนำสัญญาณ อาจรวมถึงการแพร่ภาพไปเฉพาะผู้รับที่เป็นสมาชิกหรือเคเบิลทีวี
หลักการแพร่ภาพเบื้องต้น
การมองเห็นภาพเคลื่อนไหวเกิดจากการที่เห็นภาพนิ่งที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยซ้อนเรียงกันตั้งแต่ 16 ภาพต่อวินาทีขึ้นไป ซึ่งจะทำให้สายตาของคนจับการเปลี่ยนแปลงของภาพไม่ทันทำให้มองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ จากหลักการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในการแพร่ภาพเนื่องจากการแพร่ภาพคือการส่งภาพและเสียงออกไปในรูปแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง





รูปแสดงตัวอย่างกำทำให้ภาพมองเหมือนมีการเคลื่อนไหว
หลักในการแพร่ภาพคือการส่งสัญญาณภาพในรูปสัญญาณเอ.เอ็ม. และส่งสัญญาณเสียงในรูปสัญญาณเอฟ.เอ็ม. โดยที่เครื่องส่งจะทำการเปลี่ยนภาพที่อยู่ในรูปพลังงานแสงให้เป็นพลังงานทางไฟฟ้า (สัญญาณภาพ) แล้วทำการขยายให้มีกำลังมากขึ้น จากนั้นจึงนำไปผสมสัญญาณกับสัญญาณวิทยุและสัญญาณซิงโครไนซ์ แล้วแพร่กระจายออกสู่อากาศในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนที่เครื่องรับจะทำการแยกสัญญาณภาพที่ผสมมากับสัญญาณวิทยุ และสัญญาณซิงโครไนซ์ให้กลายเป็นภาพปรากฏที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ โดยการที่เครื่องรับและเครื่องส่งจะทำงานตรงจังหวะกันได้นั้นเกิดจากสัญญาณซิงโครไนซ์ที่ได้ทำการผสมสัญญาณเข้ากับสัญญาณภาพ และสัญญาณวิทยุก่อนส่งเพราะสัญญาณ ซิงโครไนซ์เป็นสัญญาณที่ทำให้การสแกนเป็นไปอย่างถูกต้องทั้งในแนวตั้งและแนวนอน





รูปที่ การส่งและรับสัญญาณ
การสแกนภาพ




ภาพโทรทัศน์ที่บันทึกไว้หรือแสดงออกทางหน้าจอจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า จุดภาพหรือพิกเซล ซึ่งพิกเซลเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนจากข้อมูลแสง(ความสว่างของภาพ)ให้เป็นค่าทางไฟฟ้าที่เป็นสัญญาณภาพ และแทนสีแดง สีเขียว สีน้ำเงินในภาพโดยการใช้ลำแสงสแกนตามแนวนอนทีละเส้นจากด้านซ้ายไปด้านขวาและจากด้านบนลงด้านล่าง สัญญาณไฟฟ้าที่ได้จะส่งไปแสดงผลที่เครื่องรับทีละเส้นแบบเส้นต่อเส้น ซึ่งเครื่องรับจะใช้สัญญาณภาพเป็นสัญญาณควบคุมลำอิเล็กตรอนเพื่อเขียนภาพที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ตามภาพที่ส่งมา
อัตราการสแกนภาพ หรืออัตราการกวาดสัญญาณ (Refresh Rate) หมายถึง ความเร็วในการกวาดสัญญาณ เพื่อสร้างภาพบนจอ โดยอาศัยการกวาดสัญญาณทั้งแนวตั้ง และแนวนอน แบ่งได้ดังนี้
Interlaced ระบบการแสดงผลบนจอภาพที่ใช้การยิงอิเล็กตรอนเพื่อการสร้างภาพในความละเอียดสูง โดยไม่ต้องใช้ความถี่ในแนวนอนมากนัก นั่นหมายถึงต้นทุนการผลิตมอนิเตอร์ย่อมลดลงไปด้วย แต่ภาพที่ได้จะมีการสั่นไหวเล็กน้อย และมีผลกับผู้ที่ต้องทำงานกับจอเป็นเวลานานๆ การแสดงภาพจะมีการสแกนบรรทัดเว้นบรรทัด โดยรอบแรกสแกนบรรทัดเลขคี่ รอบสองสแกนบรรทัดเลขคู่ ดังนั้นความถี่ในการสแกนจึงไม่จำเป็นต้องครบรอบ ภาพที่ได้จึงไม่ค่อยชัดเท่าที่ควร
Non-interlaced ระบบการแสดงผลของจอภาพ ที่ใช้ความถี่สูงขึ้นเป็นสองเท่า จากปกติในการยิงลำอิเล็กตรอนกวาดไป บนจอภาพ ช่วยให้สามารถได้ภาพที่มีความนิ่ง ไม่สั่นไหว ทำให้มองดูแล้วสบายตา และไม่เป็นอุปสรรคในการทำงานเมื่อจ้องจอเป็นเวลานานๆ
ความถี่ในการสแกนภาพตามแนวนอน จะมีหน่วยวัดเป็น KHz ซึ่งจะเป็นค่าที่บอกให้ทราบว่า เวลาที่ใช้ในการสแกนภาพ ตามแนวนอน ของแต่ละเส้นนั้น ใช้เวลาเท่าใด
ความถี่ในการสแกนภาพตามแนวตั้ง จะมีหน่วยวัดเป็น Hz เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่า จอมอนิเตอร์มีการแสดงภาพ ซ้ำไปกี่ครั้งใน 1 วินาที โดยถ้าค่านี้ต่ำกว่า 60 Hz จะทำให้เกิดการกระพริบของภาพบนจอ ดังนั้นควรกำหนดให้มีค่ามากกว่า 70 Hz ขึ้นไป
การเลือกซื้อจอภาพ ควรเลือกชนิดที่มีการสแกนหลายความถี่ (Multiscanning Monitor) หรือเรียกว่า Multisync เพราะสามารถปรับให้เข้ากับ ตัวแปลงสัญญาณทุกประเภท










ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์แอนะล็อก
การส่งสัญญาณระบบโทรทัศน์สีได้พัฒนามาจากการส่งสัญญาณระบบโทรทัศน์แบบขาว-ดำ โดยที่ได้มีการกำหนดว่าการส่งสัญญาณระบบสีทุกระบบจะต้องให้เครื่องรับขาว-ดำสามารถรับสัญญาณได้ด้วยเพียงแต่จะเห็นเป็นภาพขาว-ดำเท่านั้น
1) ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC) หรือเรียกว่าระบบเอฟซีซี(FCC) เป็นระบบของสหรัฐอเมริการะบบนี้เป็นแม่แบบของระบบอื่นๆ โดยมีการส่งภาพ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที หลักการของระบบนี้คือแทรกความถี่พาหะย่อยของสีลงในสัญญาณภาพโดยไม่รบกวนกัน แต่ข้อเสียของระบบนี้คือจะมีความเพี้ยนของสีเกิดขึ้น
2) ระบบพัล (PAL) ระบบพัลได้ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศเยอรมนีโดย Dr.Walter Bruch ระบบ พาลหรือเรียกว่าระบบซีซีไออาร์(CCIR) เป็นระบบที่ปรับปรุงมาจากระบบ NTSC โดยปรับปรุงเรื่องความผิดพลาดของสีที่เกิดจากเฟสที่เปลี่ยนไปมา โดยมีวิธีการแก้ไขคือเพิ่มเฟสเข้าไป 180 องศาเป็นระบบที่มีการส่ง 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาทีซึ่งหลักการของระบบนี้จะเหมือนกันกับหลักการของระบบ NTSC
3) ระบบซีแคม (SECAM) ระบบซีแคมได้ถูกคิดค้นโดย Henri de Franceนักวิจัยชาวฝรั่งเศส ระบบนี้เป็นระบบที่มีการส่ง 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที หลักการของระบบนี้คือ แยกส่งสัญญาณกำหนดความแตกต่างของสีสลับกันที่ละเส้น ในเครื่องรับจะจับสัญญาณไว้ชุดหนึ่งเพื่อ รวมกับสัญญาณในเส้นถัดไปทำให้ได้ภาพสีที่ต้องการส่ง
ระบบการส่งสัญญาณของโทรทัศน์ดิจิตอล
เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์มีการพัฒนามากขึ้น จึงได้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาพัฒนาระบบสัญญาณโทรทัศน์ จากเดิมที่มีการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกให้เป็นการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ซึ่งจะทำให้ได้ภาพและเสียงที่ดีกว่าระบบแอนะล็อก เช่น HDTV ซึ่งระบบการส่งสัญญาณในแบบดิจิตอลสำรวจได้เป็น 3 ระบบ (พ.ศ.2550)
1. Advance Television Systems Committee (ATSC) เป็นระบบที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา 2.Digital Video Broadcasting (DVB) เป็นระบบที่ใช้ในยุโรป 3.Integrated Services Digital Broadcasting (ISDB) เป็นระบบที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น

การทำงานของโทรทัศน์ดิจิตอล
สัญญาณดิจิตอลมีการส่งข้อมูลที่มากกว่าแบบ แอนะล็อก จึงต้องมีการบีบอัดสัญญาณก่อนออกอากาศ โดยมาตรฐานการบีบอัดสัญญาณ คือ การบีบอัดสัญญาณแบบ MPEG-2 ซึ่งการทำงานของ MPEG-2 จะทำการบันทึกเฉพาะ ภาพที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ภาพจรวดกำลังเลื่อนที่ขึ้นไปในอวกาศ ก็จะบันทึกเฉพาะการเคลื่อนที่ของจรวดเท่านั้น ฉากหลังที่เป็นอวกาศเหมือนเดิมจะถูกบันทึกเพียงครั้งแรกครั้งเดียว การบีบอัดสัญญาณสามารถบีบอัดได้ในอัตราส่วน 55 ต่อ 1 โดยที่คุณภาพของสัญญาณดีกว่าและระยะทางการส่งไกลกว่าระบบแอนะล็อก
การส่งสัญญาณโทรทัศน์
1) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน เป็นการแพร่กระจายสัญญาณไปในอากาศเมื่อติดตั้งเสาอากาศแล้วต่อสายสัญญาณเข้าเครื่องรับก็สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีส่งได้ การส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุส่งได้ในช่วงความถี่ 30- 300MHzจะเป็นช่วงของVery high Frequency (VHF) และช่วงความถี่ 300 - 3000 MHz จะเป็นช่วงของUltra high Frequency (UHF)
2) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านช่องนำสัญญาณ เป็นการส่งสัญญาณไปตาม สายนำสัญ ญาณหรือสายเคเบิลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างสถานีส่งกับผู้รับสัญญาณ การส่งสัญญาณด้วยสายนำสัญญาณแบ่งออกเป็น
2.1) เคเบิลโทรทัศน์ชุมชน
2.2) ระบบเสาอากาศโทรทัศน์ชุมชน
2.3) ระบบเสาอากาศชุดเดียว





3) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านดาวเทียมซึ่งใช้คลื่นไมโครเวฟในการส่ง





4) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต






ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทย
โทรทัศน์เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายก รัฐมนตรี ซึ่งจากบันทึกในหนังสือเทคโนโลยีโทรทัศน์โดยได้ระบุว่า จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็น ผู้ริเริ่มให้นำโทรทัศน์เข้ามาในประเทศ โดยมีหนังสือถึงอธิบดีกรมโฆษณาการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2493 ความตอนหนึ่งว่า “...ผมอยากจะให้พิจารณาจัดหา และจัดการส่ง Television ขึ้นในประเทศของเรา เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาของประชาชน จะควรทำเป็น Mobile unit อย่างที่สนทนาวันก่อน แล้วจัดหารถจี๊บขนาดเล็กมาทดลองต่อไป...” ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงได้มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นหลังจากนั้นมา ประเทศไทยใช้ระบบโทรทัศน์ PAL ซึ่งแบ่งแถบคลื่นความถี่ของการใช้งานโทรทัศน์ออกเป็นย่านความถี่ VHF และ ความถี่ UHF โดยที่ย่านความถี่ VHFได้ถูกใช้จนเต็มแล้ว

ดังนั้นสถานีโทรทัศน์ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่จึงต้องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในย่านความถี่ UHF แถบคลื่นความถี่ของความถี่การใช้งานโทรทัศน์ได้แบ่งตามตารางดังนี้

ช่องความถี่ใช้งาน
ย่านความถี่
ช่อง 2-6
VHF 41-68 เมกะเฮิร์ซ
สถานีวิทยุ FM
VHF 88-108 เมกะเฮิร์ซ
ช่อง 7-13
VHF 174-430 เมกะเฮิร์ซ
ช่อง14-69
UHF 470-806 เมกะเฮิร์ซ

5) เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
1) ดาวเทียม ดาวเทียมมีความเกี่ยวข้องกับโทรทัศน์ในแง่ของการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ในทุกที่
2) สายอากาศ เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ด้วยคลื่นวิทยุโดยที่มีระยะทางจำกัด
3) การผสมสัญญาณ เป็นการผสมสัญญาณระหว่างสัญญาณภาพกับสัญญาณคลื่นวิทยุและสัญญาณซิงโครไนซ์ เพื่อทำการส่งออกไปในรูปสัญญาณเอ.เอ็ม. และยังเป็นการผสมสัญญาณเสียงกับคลื่นพาหะเสียงเพื่อส่งออกไปในรูปสัญญาณเอฟ.เอ็ม.
4) คลื่นไมโครเวฟ เป็นคลื่นวิทยุที่ใช้สำหรับการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระยะทางไกลเนื่องจากสามารถกำหนดทิศทางการส่งได้แน่นอน
5) คลื่นวิทยุ เป็นคลื่นที่กระจายไปได้ทุกทิศทาง ใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์อย่างแพร่หลาย สามารถส่งออกไปได้ในระยะทางไกล แต่เมื่อผ่านสิ่งกีดขวาง กำลังในการส่งก็จะลดลง อย่างมาก

ตาราง ประวัติการค้นพบและการใช้งาน
ปี พ.ศ.
การค้นพบและการใช้งาน
2416
Andrew Mayค้นพบสารเซเลเนียมซึ่งเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า
2426
Paul Nipkowคิดค้นหลักการสแกนภาพที่ใช้ระบบจานหมุนแบบกลไก
2454
Campbell Swinton ได้นำหลอดรังสีแคโทดมาใช้ในการรับส่งภาพของการสแกนภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์
2466
Vladimir Zworykinประดิษฐ์ iconoscope
2467
Vladimir Zworykinประดิษฐ์ kinescope
2468
John Logie Baird และCharles Francis Jenkins ทดลองการออกอากาศโดยส่งภาพและเงาโดยไม่ใช้สาย
2471
James L. Bairdนำแผ่นกรองสีมาใช้แยกสัญญาณสี เกิดการส่งภาพสี
2479
แพร่ภาพขาว-ดำเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษด้วยระบบ 405 เส้น 25 ภาพต่อวินาที
2494
แพร่ภาพสีเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยระบบ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที
2495
ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ในพ.ศ. 2550 คือสถานีโทรทัศน์โมเดิลไนน์ ทีวี (modern nine TV)
2498
มีการแพร่ภาพขาว-ดำเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (ในพ.ศ.2550 คือ สถานีโมเดิร์นไนน์ทีวี)

2500
ได้มีการก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และมีการแพร่ภาพเป็นภาพขาว-ดำ
2510
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 แพร่ภาพเป็นโทรทัศน์สีระบบ PAL เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
2513
ได้มีการก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยเป็นสถานีโทรทัศน์สีระบบ PAL
2517
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ย้ายมาเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง5 และได้เปลี่ยนจากการแพร่ภาพระบบขาว-ดำมาเป็นโทรทัศน์สีระบบ PAL
2539
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี(ใน พ.ศ.2550 เปลี่ยนเป็นสถานโทรทัศน์ทีไอทีวี) เป็นสถานีแรกที่ใช้ระบบ UHF เนื่องจากช่องสัญญาณในย่านความถี่ VHF ถูกใช้จนเต็ม


Camcorder กล้องถ่ายวิดีโอ












Camcorder หรือที่เรียกว่า กล้องถ่ายวิดีโอ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการบัน ทึกภาพและเสียงหรือที่เราเรียกว่า วิดีโอ นั้นเอง โดยที่ตัวกล้องจะประกอบด้วยส่วนของกล้องวิดีโอและส่วนของการบันทึก ซึ่งในส่วนของการบันทึกนั้นจะมีช่องสำหรับใส่ม้วนเทปอยู่ในตัว และถ้าเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีก่อนหน้านี้ กล้องตัวนี้เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพและเสียงที่มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่า











กล้องถ่ายวิดีโอรุ่นแรกๆที่ใช้
ในห้องส่งโทรทัศน์
ปัจจุบันกล้องถ่ายวิดีโอได้ถูกพัฒนาโดยบริษัทต่างๆเช่น Jvc, Sony,และ Kodak ซึ่งแต่ก่อนใช้วิดีโอเทปแบบอนาล็อก (ใช้แถบแม่เหล็กในการบันทึก) ต่อมาในปี 1990 มีการบันทึกในรูปแบบของดิจิตอลเข้ามามีบทบาท โดยเริ่มจากต้นปี 2000 อุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกภาพและเสียงแบบเทปถูกแทนที่โดยหน่วยความจำแบบฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสก์ที่เป็นพลาสติก(แผ่น CD) และหน่วยความจำที่เรียกว่า Memory card
กล้องถ่ายวิดีโอมีการบันทึกในรูปแบบของดิจิตอลจะมีทั้งหน่วยความจำที่อยู่ในตัวกล้องและยังสามารถที่จะต่อเพิ่มหน่วยความจำ Memory card ได้อีกด้วย ซึ่งเรียกระบบนี้ว่าระบบ hybrid ขณะเดียว กันเมื่อกล้องชนิดนี้ได้รับความนิยมแล้ว กล้องรุ่นเก่าที่บันทึกภาพแบบอนาล็อก (ใช้ม้วนเทปในการบันทึก) ก็ได้รับความนิยมน้อยลงทันที

1. ประวัติความเป็นมา ( History )
กล้องวิดีโอตัวแรกมีการออกแบบมาเพื่อถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ดังเช่นกล้องถ่ายทำทีวีที่เห็นกันโดยทั่วไปในขณะนั้นมักมีขนาดใหญ่มาก ใช้ล้อเลื่อน และต่อสายไปยังเครื่องบันทึกและเนื่องจากยุคนี้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น กล้องถ่ายวิดีโอจึงมีขนาดที่เล็กลง
ในยุคแรกๆ มีกล้องวิดีโอ 2 ชนิดคือ กล้องวิดีโอ และ กล้องวิดีโอที่มีเครื่องบันทึก (VCR) ซึ่งกล้องชนิดนี้เริ่มผลิตสู่ตลาดโดย บริษัท JVC (ใช้มาตรฐานในการบันทึกภาพระบบ VHS) และบริษัท Sony (ใช้มาตรฐานในการบันทึกภาพระบบ Umatic and Betamax ) เพื่อนำมาใช้ในงานนอกสถานที่
กล้อง VCR ประกอบด้วยเครื่องเล่นเทป / หน่วยบันทึก โดยมีช่องสำหรับใส่ม้วนเทป และสามารถต่อ ไปแสดงผลที่ทีวีได้ ซึ่งในขณะนั้นได้รับความนิยมจากคน 2 กลุ่มคือช่างภาพทั่วไปและผู้สื่อข่าว แต่อย่างไรก็ตาม VCR ได้ถูกพัฒนาและนำเข้ามาใช้ในกระบวนการถ่ายทำภาพยนตร์อีกด้วย











ในปี 1982 กล้องวิดีโอเริ่มได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น โดยในขณะนั้นมีบริษัทที่ผลิตกล้องวิดีโอออกสู่ตลาดเพียง 2 บริษัทคือ บริษัท JVC และ Sony ซึ่งบริษัท JVC ได้ผลิตกล้องระบบ VHS–C ส่วน บริษัท Sony ได้ผลิตกล้องระบบ Betacam และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากซึ่งกล้อง ระบบ VHS–C ของบริษัท JVC มีขนาดที่เล็กและสามารถเชื่อมต่อกับ VCR ได้ ส่วน กล้องระบบ Betacam ของบริษัท Sony ได้ถูกผลิตให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้น เพื่อใช้ในระบบวิดีโอคุณภาพสูง ระบบ S–Video (ส่งสัญญาณภาพที่แยกกันระหว่างสัญญาณลูมิแนนซ์ และสัญญาณโครมาร์) ซึ่งให้ภาพที่มีความคมชัดมากกว่า ในช่วงแรกๆ กลุ่มผู้ใช้กล้องไม่ค่อยนิยมใช้กล้องระบบ Betacam เท่าไหร่สาเหตุเพราะก่อนหน้านั้น Betacam เป็นแค่กล้องธรรมดาๆ แต่หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาให้ Betacam มีทั้ง 2 ระบบ คือ กล้องวิดีโอและ VCR แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ใช้กล้องได้มีการพัฒนาและนำมาใช้ในการถ่ายทำละครและ Betacam ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มของงานการทำข่าวและใช้ในการตัดต่อ ในสตูดิโอ








จากรูปเป็นกล้อง JVC ที่ใช้ในห้องส่ง
ในปี 1983 บริษัท Sony ได้ผลิตกล้องระบบ Betamax -based Betamamovie ออกสู่ตลาด โดยใช้วิธีลดขนาดของหัวอ่านซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ กล้องวิดีโอทำให้กล้องมีขนาดเล็กลง แต่ถ้าเทียบกับปัจุบันแล้วก็ยังถือว่ามีขนาดที่ใหญ่และไม่สามารถถือใช้งานมือเดียวได้ต้องแบกไว้บนไหล่ขวาเท่านั้นเพราะมีจอแสดงผล และปุ่มควบคุมต่างๆบังคับให้เราต้องใช้มือขวาแม้ว่าผู้ใช้งานจะถนัดซ้ายก็ตามและไม่สามารถเล่นย้อนกลับหรือ Rewind ได้
ในรูปเป็นกล้อง BETACAM รุ่น SP sony DXC 637





ในเวลาเดียวกันนั้น บริษัท JVC ก็ได้ผลิต กล้องวิดีโอระบบ VHS-C ออกสู่ตลาด ม้วนวิดีโอ เทปแบบ VHS-C ใช้บันทึกได้ตั้งแต่ 40 ถึง 120 นาที สำหรับมาตรฐานการบันทึกแบบ VHS หลังจาก ที่ได้เห็นกล้องวิดีโอมาตรฐาน VHS-C ที่มีขนาดเล็กที่เรียกว่า “ palmcorders” จากนั้นบริษัท Sony ได้นำกล้องระบบ Betamax มาดีไชน์ ใหม่ เป็นระบบมาตรฐาน Video 8 mm เพื่อตัดปัญหาเรื่องการบันทึกข้อมูลได้น้อยโดยเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบที่เป็นโลหะบนเส้นเทปใหม่ มีขนาดความกว้างของเส้นเทปเพียง 8 mm ซึ่งน้อยกว่าเทป ระบบ VHF/ Betamax ซึ่งมีความกว้างของเส้นเทปประมาณ 12.7 mm อยู่ 33 เปอร์เซนต์สาเหตุนี้เองที่ทำให้ช่องสำหรับใส่ม้วนเทปและกล้องมีขนาดที่เล็กลงตามไปด้วย








เปรียบเทียบระหว่าง Plamcam และ Betacam
เมื่อกล้องระบบ VHS-C และ Video 8 mm ออกสู่ตลาดก็เป็นที่นิยมของกลุ่มผู้ใช้งานเป็นอย่างมากแม้ว่า Video 8 mm เป็นกล้องวิดีโอที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับ VHS-C และ Super VHS –C (อัตรา ส่วนการแสดงภาพแนวนอน 250 /420 เส้น ) แต่ม้วนเทประบบ 8 mm มีข้อได้เปรียบคือสามารถบันทึกต่อเนื่องได้ถึง 2 ชั่วโมง ขึ้นไป ด้วยเหตุที่ม้วนเทประบบ 8 mm เ ป็นรูปแบบที่แตกต่างจากมาตรฐาน VHS จึงไม่สามารถเล่นในเครื่องเล่นที่เป็นระบบ VHS และ VCRs ได้ กล้องระบบ VHS-C จึงชนะใจผู้ใช้งานและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และหลังจากนั้นกล้องระบบดังกล่าวกลายเป็นจุดสิ้นสุดหรือขาลง เนื่องจากเมื่อปี 1986 บริษัท Panasonic ได้เริ่มนำกล้องตัวใหม่ออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นระบบ VHS / S-VHS แบบเต็มรูปแบบโดยสามารถที่จะบันทึกข้อมูลต่อเนื่อง 3 ถึง 9 ชม. และมีการใช้งานมากในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายวิดีโอ อุตสาหกรรมวิดีโอกราฟริกและสตูดิโอของรายการโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์ต่างๆ



กล้อง Pana S-VHS









จากรูปเป็นกล้องถ่ายวิดีโอ แบบ HI-8 พร้อมตลับเทป
ในกลางปี 1990 มาตรฐานการบันทึกภาพได้แปลเปลี่ยนมาเป็นยุคดิจิตอล ซึ่งขณะนั้นมีกล้องวีดีโอดิจิตอลขนาดเล็กมีชื่อว่า DV และ Mini DV รวมทั้งตลับใส่ม้วนเทปและอุปกรณ์อื่นๆ มีขนาดเล็กลงด้วย อีกทั้งยังให้สัญญาณภาพและเสียงเป็นดิจิตอล ซึ่งมีคุณภาพที่ดีกว่าม้วนเทประบบอนาล็อก (SVHS–C ,Hi 8 )ทำให้ผู้ที่นิยมใช้งานวิดีโอเทปแบบ Super VHS–C และ Hi 8 ลดลงเนื่องจากสัญญาณภาพที่ได้มีสัญญาณรบกวน และภาพไม่ชัดเจน จากนั้น DV ได้พัฒนาให้เป็นมาตรฐานการบันทึกภาพอื่นๆอีก เช่น Digital 8 และ MPEG2-Bese DVD









วิวัฒนาการของกล้องถ่ายวีดีโอ “CAMCORDER” ที่พบเห็นทั่วไปในท้องตลาดในปัจจุบันมีขนาดเล็กน้ำหนักเบาและมีราคาถูก ซึ่งเป็นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้พัฒนาให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้งานมากขึ้นเช่นรองรับไฟล์แบบ MP4 ซึ่งในช่วงที่มีการนำออกสู่ตลาดในช่วงต้นๆ กล้องวิดีโอจะมีราคาสูงถึง 1500 ดอลลาร์ต่อมาเมื่อปี 2008 มีการนำเอา VHS-C ,S-VHS-C มาใช้กับเครื่องบันทึกภาพขนาดเล็กที่เรียกว่า Palm และราคาขายโดยทั่วไปปรับอยู่ในช่วง 150 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมๆกับการใช้หน่วยบันทึกภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาแทนที่หรือการใช้บันทึกลงแผ่น DVD ในเครื่องถ่ายวิดีโอเรียบร้อยบางทีก็บันทึกลงฮาร์ดดีสก์












จากรูปเป็น Camcorder รุ่นใหม่ที่บันทึกลงแผ่น DVD-RW





จากรูปเป็น Camcoerder รุ่นใหม่ที่ใช้บันทึกภาพคุณภาพสูง และบันทึกลงบน Blue Ray Disc



Camcorder แบบใช้ Hardisk



2. ส่วนประกอบหลักของกล้องวิดีโอ ( Major components )
มีส่วนประกอบใหญ่ๆอยู่ 3 ส่วน คือ
1. ส่วนช่องรับแสงหรือเลนส์
2. ส่วนที่ทำให้เกิดภาพหรือเซนเซอร์
3. ส่วนบันทึกภาพ

2.1 เลนส์ มีหน้าที่รวมแสงและปรับความเหมาะสมส่วนประกอบของภาพ ให้ภาพมีความคมชัด และเลนส์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกล้อง กล้องโดยทั่วไปจะมีเลนส์เพียง 1 ตัว แต่ถ้าต้อง การปรับความยาวโฟกัส ปรับขยาย Zoom in ,Zoom out ปรับแสงสว่างของภาพและปรับความเร็วชัตเตอร์ เหล่านี้จะต้องใช้เลนส์มากกว่า 1 ตัว ซึ่งการปรับแต่งหรือลูกเล่นต่างๆที่กล่าวมา ตัวกล้องวิดีโอจะมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ปรับได้อัตโนมัติในตัว โดยใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม แต่โดยทั่วไปแล้ว ฟังก์ชั่นหลักๆของกล้อง ช่างมืออาชีพและผู้ที่มีความชำนาญ จะนิยมปรับด้วยตัวเองขณะถ่ายเพราะต้องการที่จะได้ภาพที่มีความสมดุลหรือส่วนประกอบต่างๆ ตามต้องการได้ ตัวอย่างการปรับ เช่นช่องรับแสงหรือรูรับแสง , ความเร็วชัตเตอร์ ความยาวโฟกัส ฯลฯ เป็นต้น
2.2 ส่วนที่ทำให้เกิดภาพหรือเซนเซอร์ มีหน้าที่หลักคือเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณภาพ ซึ่งเซนเซอร์ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ชนิด คือ CCD และ CMOS ซึ่งบนแผ่นหรือตัวเซนเซอร์นี้จะมีหน่วยหรือเซลส์เล็กๆถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบอยู่ส่วนบนแผงเซนเซอร์ เพื่อรับแสง ซึ่งเซลส์หรือหน่วยเล็กๆที่ว่านี้จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณแสงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยมีหลักการทำให้เกิดภาพคือเมื่อที่แสงตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนผ่านเลนส์เข้ามากระทบส่วนผิวของตัวเซนเซอร์ จากนั้นเซนเซอร์จะเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งแต่ละเซลส์อาจได้รับแสงไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับภาพที่ถ่ายถ้าเซลส์ไหนได้รับแสงที่มีความเข้มมากสัญญาณไฟฟ้าก็จะแรง สัญญาณไฟฟ้าที่ได้จะเป็นสัญญาณอนาล็อกส่งผ่านไปยังวงจรที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล (ADC)แล้วเข้าสู่กระบวนการจัดการเรื่องสีภาพในเฟรมนั้นๆ เพื่อให้ภาพที่ได้ออกมาชัดเจนใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด
2.3 ส่วนบันทึก มีหน้าที่เข้ารหัสสัญญาณภาพแล้วบันทึกลงหน่วยความจำ เช่น ม้วนวิดีโอเทป
เป็นต้น ขั้นตอนในการบันทึกสัญญาณวิดีโอ เป็นขั้นตอนที่สำคัญควรมีการป้องกันสัญญาณรบกวนที่อาจเกิดขึ้นขณะที่ทำการบันทึกด้วย เพื่อให้สัญญาณที่บันทึกมีความคมชัด ปราศจากสัญญาณรบกวนและภาพที่ได้มีความสมบูรณ์เหมือนจริงมากที่สุดนอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วกล้องวิดีโอ ยังมีปุ่มสำหรับควบคุมการทำงานต่างๆสำหรับผู้ใช้งานเช่นปุ่มควบคุมการเปิด-ปิด ปุ่มสำหรับกลอเทป ปุ่มปรับความยาวโฟกัส ปุ่มความสมดุลของแสงทั้งนี้เพื่อภาพที่ได้มีความสมบูรณ์และใกล้เคียงเหตุการณ์ จริงมากที่สุด
การบันทึกภาพที่ไม่จำกัดแค่ถ่ายเก็บไว้ดูเท่านั้นยังมีการบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ เช่น ตำรวจใช้ภาพประกอบในการพิจารณาคดี ดูภาพถ่ายอนาเขตพื้นที่ในมุมสูง ตำรวจจราจร ถ่ายภาพขณะรถยนต์ที่วิ่งเร็วเกินกฏหมายกำหนด โดยถ่ายภาพที่ได้นั้นจะระบุวันเดือนปีที่ถ่ายไว้โดยอ้างอิงจากวันเดือนปีของกล้องที่เราตั้งไว้ก่อนใช้งาน

3. แนวโน้มทางการตลาดของกล้องวิดีโอ(Consumer Camcorders)
3.1 ข้อเปรียบเทียบระหว่างระบบ Analog และ Digital
3.1.1 กล้องวิดีโอจำแนกประเภทตามรูปแบบหรือมาตรฐานการบันทึกข้อมูล ที่เป็นแบบ Analog คือ VHS ,Betamax และ Video 8
3.1.2 กล้องวิดีโอจำแนกประเภทตามรูปแบบหรือมาตรฐานการบันทึกข้อมูล ที่เป็นแบบ Digital คือ Digital 8 ,Mini DV,DVD,Hardisk,หน่วยความจำแฟรช(Flash drive)

กล้องวิดีโอดิจิตอลโดยทั่วไปที่บันทึกแบบ Mini DV มีมาตรฐานในการแสดงภาพ ที่มีความละเอียดสูงถึง 720/576 เส้นในระบบ PAL และ 720/480 เส้นในระบบ NTSC ซึ่งแตกต่างจากระบบ อนาล็อก โดยในระบบดิจิตอลจะไม่มีการไหลของเฉดสีระหว่างจุดทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัดสีสัน ที่สดใส มีสัญญาณรบกวนต่ำ แตกต่างจากกลุ่มผู้ใช้ระบบ VHS –C ที่มีสัญญาณรบกวนทั้งภาพและเสียงมากกว่า
รูปแบบการบันทึกข้อมูลดิจิตอลที่มีคุณภาพสูง เช่น Mini DV และ Digital Betacamสามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลของภาพวิดีโอไว้ได้นานๆโดยภาพไม่มีการสูญหายหรือเสื่อมสภาพแต่ถ้าเป็นอนาล็อก เทป VHS เมื่อทิ้งใว้นานๆสัญญาณบนเนื้อเทปจะเสื่อมสภาพลงทำให้คุณภาพของภาพลดถอยลงรวมทั้งการนำไปตัดต่อ การขยายการคัดลอกตันฉบับ แม้กระทั่งในสายนำสัญญาณเองก็จะมีโอกาสเกิดสัญญาณรบกวนได้เช่นกัน แต่ปัญหาต่างๆเหล่านี้ไม่เป็นปัญหากับระบบบันทึกภาพแบบดิจิตอลหรืออาจมีแต่น้อยมาก ประเทศไทยได้ใช้มาตรฐานการบันทึกภาพแบบ MPEG – 2 และ MPEG - 4 ซึ่งจะมีอัตราการเกิดสัญญาณรบกวนในระบบน้อยมากและใช้มาตรฐานในการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ตมาตฐานต่างๆเช่น IEEE 1394,SDI/SDTI,HDMI เป็นต้น
ปัญหาที่พบจากระบบดิจิตอลและอนาล็อกมีข้อเปรียบเทียบคือ ข้อมูลที่เป็นดิจิตอลจำนวนมาก เราสามารถที่จะจัดเก็บใวในหน่วยความจำที่มีขนาดเล็กๆได้ เช่นฮาร์ดดิสก์ แต่ข้อมูลที่เป็นอนาล็อกต้องใช้พื้นที่เก็บจำนวนมากหรือมีขนาดใหญ่เพราะเก็บในรูปของม้วนเทปได้อย่างเดียว แต่ทั้ง 2 ระบบเมื่อเก็บข้อมูลไว้เป็นเวลานานๆ พบว่าสัญญาณของทั้ง 2 ระบบมักจะมีคุณภาพต่ำลง ที่สำคัญข้อมูลที่เป็นระบบดิจิตอลที่ถูกจัดเก็บลงในรูปแบบของแทรคบนเส้นเทปซึ่งมีเนื้อที่ของแทรคเพียง 10 ไมโครมิเตอร์ (ประมาณ 500 ไมโครมิเตอร์สำหรับระบบ VHS ) เมื่อเส้นเทปถูกทำลายหรือสกปรกหรือยืดและมีรอยขีดข่วน จะทำให้ข้อมูลที่อยู่ในนั้นสูญเสียไปมาก แต่ในระบบอนาล็อกจะเกิดน้อยกว่าตัวอย่าง เช่น แผ่น DVD 1 แผ่น แม้จะมีรอยขีดหรือแตกเพียงนิดเดียว ข้อมูลจะสูญหายไปเยอะหรืออาจจะไม่สามารถดูข้อมูลได้เลย
3.2 อุปกรณ์ในการบันทึกที่ทันสมัย(Modern Recording Media)
ในปัจจุบันนี้มีอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกวิดีโอที่ทันสมัย เช่น flash memory , SD Card, ฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็ก,DVD –RAM ขนาดเล็ก,DVD-R แบบ MPEG –1, MPEG –2 หรือ MPEG –4 รูปแบบต่างๆเหล่านี้มีรูปร่างที่แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของมันและขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะเลือกใช้แบบไหนซึ่ง ผู้มีความชำนาญ จะรู้ว่างานแต่ละแบบควรเลือกใช้ชนิดไหน ซึ่งแต่ละแบบสามารถที่จะแปลงหรือคัดลอกข้อมูลไปเก็บไว้ในอุปกรณ์บันทึกชนิดอื่นๆที่ต่างกัน ได้
เทปบันทึกข้อมูลแบบ DV หรือ HDV ซึ่งเป็นการบันทึกวิดีโอในรูปแบบดิจิตอลบนเทปที่ได้ รับความนิยมสูงสุดอยู่ในขณะนี้ และยังสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกล้องกับคอมพิวเตอร์ได้ด้วยสาย สัญญาณที่เรียกว่า Firewire ข้อมูลวิดีโอที่มีขนาดใหญ่มาก สามารถที่จะตัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ ให้มีขนาดเล็กลงได้ (DV ขนาด 1 กิกกะไบต์ จะมีความยาว 4-4.6 นาที ในระบบภาพแบบ PAL /NTSC ) เมื่อต้องแบ่งข้อมูลให้มีขนาดเล็กลงแล้วก็สามารถบันทึกลงในม้วนเทปเก็บไว้ได้ ในการบันทึกลงเทปหรือรับ-ส่งข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องใช้เวลานานพอสมควรเช่นข้อมูลวิดีโอขนาด 13GBอาจจะใช้เวลาในการรับส่งข้อมูลถึง 60 นาที และเนื่องจากว่าข้อมูลมีขนาดใหญ่มาก จำเป็นที่จะต้องอาศัยพื้นที่ในการจัดเก็บมากตามไปด้วย ดังนั้นการตัดต่อจึงจำเป็นด้วยเหตุผลนี้ เรามีความจำเป็นต้องตัดต่อโดยตัดข้อมูลส่วนที่ไม่สำคัญหรือไม่ต้องการบางส่วนทิ้งไปเหลือไว้เฉพาะส่วนที่สำคัญเพื่อให้ข้อมูลมีขนาดเล็กลงไม่เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ

3.3 กลุ่มผู้บริโภค/ ตลาด ( Consumer market )
มีแนวโน้มว่าสินค้าจะถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบาราคาไม่แพง เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และเน้นความสามารถและประสิทธิภาพการทำงานของกล้อง เช่น ความสามารถที่ใช้ถ่ายได้ในสถานที่ที่มีแสงสว่างน้อย ลดขนาดของวงจรเพื่อให้ตันทุนและขนาดลดลง ฟังก์ชั่นการทำงานที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น มีพอร์ตในการเชื่อมต่อ Input / Output เพิ่มขึ้นและ ปุ่มในการปรับค่าต่างๆ และระดับความดังของเสียง





Panasonic รุ่น GS 250


สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายวิดีโอเป็นงานอดิเรก กล้อง Panasonic รุ่น GS 250 เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจซึ่งกล้องตัวนี้จะมีคุณสมบัติระดับใกล้เคียงกับกล้องที่ใช้ในงานที่มีความคมชัดของภาพสูงเช่น กล้องถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ด้วยราคาเพียง 1000 ดอลลาร์ โดยกล้องตัวนี้จะเป็นระบบควบคุมด้วยมือ ระบบเซนเซอร์รับภาพแบบมัลติ CCD แต่ไม่สามารถถ่ายในพื้นที่ที่มืดหรือสลัวได้


JVC รุ่น GZ-MG555





ก่อนศตวรรษที่ 21 กล้องถ่ายวิดีโอ JVC รุ่น GZ-MG555 ไฮบริด (MPEG –2 , SD-Video) ได้ผลิตออกสู่ตลาดโดยทั่วไปกล้องชนิดนี้จะบันทึกข้อมูลใว้บนเทปซึ่งยากต่อการตัดต่อ ในทุกวันนี้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้การตัดต่อภาพและการแสดงภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายขึ้น กลุ่มผู้ผลิตกล้องวิดีโอเองก็มีการเขียนโปรแกรมใหม่ๆเพื่อสนับสนุนกับการใชักล้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์รวม ทั้งโปรแกรมตัดต่อวิดีโอที่แถมมาในกล่องสินค้าเมื่อเราซื้อกล้องเพื่อความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน

ในปี 2007 ซึ่งเป็นยุคของโลกดิจิตอลเลยก็ว่าได้ และแน่นอนว่ากล้องวิดีโอที่เป็นแบบอนาล็อก
หายไปจากท้องตลาดและมีราคาต่ำลงมากโดยราคาอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 250 ดอลลาร์ เนื่องจากผู้ใช้งาน
หันไปให้ความสนใจกล้องดิจิตอล Mini Dv ซึ่งมีคุณสมบัติที่เด่นกว่า มีขนาดเล็กและใช้งานได้ง่ายขึ้น
ซึ่ง Mini DV เป็นกล้องวิดีโอดิจิตอลตัวแรกที่ได้รับความนิยมมากจากผู้ใช้งาน และสามารถที่จะบันทึก
วิดีโอลงบนแผ่น DVD ได้โดยตรงถ้าไม่ตัดต่อก็สามารถนำไปเล่นในเครื่องเล่น DVD ได้เลย แต่อย่างไร
ก็ตามแม้จะบันทึกลงในแผ่น DVD แล้วก็ตามเมื่อเราต้องการนำมาตัดต่อก็ทำได้ง่ายเพราะโปรแกรมตัด
ต่อก็หาได้ไม่ยากนัก

กล้อง MINI DV Camcorder

กล้องวิดีโอดิจิตอลที่มีหน่วยความจำฮาร์ดดิสก์ในตัว ช่วงแรกๆที่เราเห็นวางขายตามท้องตลาด
ทั่วๆไปจะมี 2 ยี่ห้อคือ JVC และ Sony จุดเด่นของกล้องคือการจัดเก็บข้อมูลวิดีโอ เช่น การย้าย การ
คัดลอก การลบ การตัดต่อ ซึ่งทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เพราะฮาร์ดดิสก์เป็นหน่วยความจำขนาดใหญ่ที่
สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากๆ ที่สำคัญไม่จำกัดจำนวนครั้งในการเขียนหรือบันทึกข้อมูล และเมื่อ
เปรียบเทียบกับอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบอื่น เช่น Mini Dv แล้ว ฮาร์ดดิสก์ มีความปลอดภัยของข้อมูล
สูงการสูญเสียข้อมูลน้อยมากรวมทั้งการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกล้องกับเครื่อง PC ทำได้รวดเร็วกว่า

3.4 อุปกรณ์ตัดต่อต่างๆ (Other devices with video-capture capability )
อุปกรณ์ตัดต่อวิดีโอและการจัดเก็บข้อมูลวิดีโอขนาดเล็ก มีให้เห็นทั่วไปตามโทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล และ MP4 เป็นต้น ผู้ผลิตกล้องวิดีโอจะให้ความสำคัญกับความละเอียดของภาพที่ถ่ายออกมา กล้องวิดีโอระบบ VHS ให้ความละเอียดสูงสุดที่ 320*240, ส่วน DVD ให้ความละเอียดที่ 640*480 กล้องถ่ายรูปคุณภาพสูงหน่อยก็จะให้ความละเอียดที่ 800*600 และมีการพัฒนาให้ภาพที่ถ่ายออกมาได้มีความละเอียดสูงขึ้น เช่นกล้อง Sanyo Xacti HD1ให้ความละเอียดของภาพได้ถึง720 พิกเซล และคุณภาพของภาพที่ได้จากกล้องมีตัวแปลหลายอย่างเช่น ในกล้องที่ปรับ Zoom อัตโนมัติขณะที่ถ่ายอยู่ถ้ามีการปรับ Zoom จะมีสัญญาณรบกวนที่มาจากมอเตอร์ กล้องวิดีโอยังใช้งานในที่ที่มีแสงน้อยหรือที่มืดได้ไม่ดีนัก ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆที่นำมาผลิต ย่อมมีผลต่อคุณภาพของกล้องโดยตรง เช่น ต้องใช้วัสดุหรือ Clips ชนิดพิเศษเมื่อต้องการกล้องวิดีโอ ที่สามารถเล่นโหมดการแสดงภาพ 10 เฟรมต่อ วินาที 30 เฟรม ต่อวินาที หรือความสามารถในการบันทึกข้อมูลให้ได้มากที่สุดหรือน้อยที่สุดเพียง 30 วินาที
กล้องวิดีโอที่บันทึกข้อมูลแบบ MPEG –4 สามารถที่จะบันทึกข้อมูลได้ยาวนานและให้ความละเอียดถึง 320* 240 แต่ก็ยังมีจุดบกพร่องเนื่องจากโปแกรมตัดต่อบางตัวไม่รู้จัก MPEG–4 ซึ่งคุณภาพของกล้องขึ้นอยู่กับรูปแบบหรือมาตรฐานในการบันทึกด้วย กล้องวิดีโอที่ให้ความละเอียดหรือคุณภาพ สูงบางตัวใช้มาตรฐานการบันทึกแบบ MJPEG ซึ่งเป็นไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มากต้องใช้หน่วยความจำที่มีพื้นที่มาก เช่นวิดีโอ ยาวมากกว่า 10 นาที อาจต้องใช้การ์ดบันทึกข้อมูลถึง 1 กิกกะไบต์

4. การนำไปใช้งาน (Uses)
ใช้ผลิตสื่อทีวี กล้องวิดีโอเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการผลิตรายการทีวี ตั้งแต่การบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วนำมาตัดต่อในห้องสตูดิโอ แล้วส่งออกอากาศ หรือใช้กล้องวิดีโอถ่ายเหตุการณ์ต่างๆแล้วส่งออกอากาศเลยหรือที่เรียกว่า ถ่ายทอดสด รวมทั้งการผลิตรายการทีวีในห้องสตูดิโอ ล้วนต้องใช้กล้องวิดีโอในการถ่ายทำทั้งสิ้น
ใช้ในบ้านหรือใช้ส่วนตัว การใช้กล้องวิดีโอส่วนตัวนิยมมากในสหรัฐอเมริกาซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในที่ไม่เป็นทางการ เช่น พิธีแต่งงาน งานวันเกิด งานรับปริญญา งานสำคัญต่างๆ และความบันเทิงในบ้านหรือถ่ายเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดในบ้านเพื่อเก็บไว้ดู
ใช้ในการบันทึกเหตุการณ์ ในกลุ่มผู้ประท้วงจะใช้กล้องวิดีโอถ่ายเหตุการณ์ต่างๆที่พวกเขาคิดว่าไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับสังคมของพวกเขาแล้วนำวิดีโอที่ถ่ายได้นั้นออกมาเผยแพร่เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจากผู้มีอำนาจหรือผู้นำประเทศ อีกทางหนึ่งใช้กล้องวิดีโอในการถ่ายภาพพฤติกรรมของสัตว์ในห้องทดลองเพื่อทดลองและดูความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของสัตว์นั้นๆ และตั้งกล้องไว้เพื่อสังเกตุพฤติกรรมของสัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติเพื่อศึกษาพฤติกรรม ในอีกทางหนึ่งใช้ถ่ายภาพการสอบสวนของตำรวจเพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงกับผู้ต้องหาและการถ่ายภาพเหตุการณ์ต่างๆของข่างภาพอิสระเป็นต้น
ใช้เพื่อความบันเทิงและการผลิตภาพยนต์ กล้องวิดีโอเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ต้นทุนต่ำให้ความนิยมเป็นอย่างมาก เช่น การถ่ายภาพยนต์โฆษณา การถ่ายละครทีวี รายการเกมโชว์ เป็นต้น ซึ่งผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องใช้กล้องที่มีประสิทธิภาพสูงมากนักเพื่อลดต้นทุนอีกอย่างถ้าใช้กล้องวิดีโอแบบบันทึกลงเทปต้องใช้เทปเป็นจำนวนมากมาเก็บไว้เพื่อให้เพียงพอและกล้องวิดีโอดิจิตอลมีความสะดวกในการใช้งานและการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่ออีกด้วย



5. รูปแบบการใช้งาน(Format) มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
5.1 แบบ Analog
5.2 แบบ Digital

แบบ Analog เป็นกล้องขนาด 8 mm (ขนาดความกว้างของเส้นเทปกว้าง 8 mm )
ช่วงความถี่ต่ำ มีความกว้างของแถบความถี่ 3 MHz ( 250 เส้นภาพความละเอียด ประมาณ 333*480 )
1.มาตรฐาน Betamax (1975) ใช้กับกล้อง Sony และ Sanyo รุ่นเก่าๆ
2.มาตรฐาน VHS (1976) มีลักษณะคล้ายกับ VCRs แต่ VHS ผลิตออกมาสู่ตลาดในเวลาไม่
นานนัก
3.มาตรฐาน VHS- C (1982) เป็นระบบที่ใช้เส้นเทปชนิดเดียวกับเทป VHS แต่บรรจุในตลับที่
เล็กกว่าทำให้กล้องที่มีขนาดเล็กได้รับความนิยมมากกว่า
4.มาตรฐาน Video 8 ( 1985 ) ถูกพัฒนาให้มีขนาดที่เล็กลงโดยบริษัท โซนี่ แข่งกับ VHS- C
มีคุณภาพใกล้เคียงกับ VHS หรือ Betamax แต่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ช่วงความถี่สูง มีความกว้าง ของแถบความถี่ 5 MHz ( 480 เส้นภาพความละเอียด ประมาณ 550*480 )
5. S-VHS (1987) ได้รับความนิยมจากช่างภาพมืออาชีพหรืองานระดับโปรซึ่งเป็นกลุ่มที่มี
ปริมาณผู้ใช้น้อย
6. S-VHS – C (1987) ได้รับการอัพเกรดและพัฒนาให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับภาพที่ได้จาก
เลเซอร์ดิสก์ปัจจุบันเจาะกลุ่มผู้ใช้ในระดับทั่วๆไป














แบบ Digital จากรูปกล้องถ่ายวิดีโอแบบ Micro MV และตลับเทปตามรูปข้างบนและเทปแบบ
Mini DV และ Hi 8 ขนาดของเทปมีขนาดเล็กลงตามลำดับ
1. รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลวิดีโอช่วงแรกๆจะจัดเก็บในรูปแบบ MPEG –4 และหน่วยความจำแบบ แฟลชไดรฟ์ ช่วงหลังๆ มีการพัฒนาขึ้นให้สามารถบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี และเมมโมรี่สติกส์ได้
2. MPEG –2 เป็นมาตรฐานในการบันทึกข้อมูลส่งผ่านข้อมูลโดยไม่ต้องใช้เทปโดยจะบันทึกลงบนแผ่นซีดี หรือฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น โดยมาตรฐานของ JVC และ Panasonic และมาตรฐานการบันทึกภาพมี่คมชัดขึ้น
มาตรฐานการบันทึกข้อมูลแบบ MPEG –4 เป็นการบีบอัดสัญญาณวิดีโอที่สามารถบันทึกลงซีดี ฮาร์ดดิสก์และเมมโมรี่สติกส์ได้











กล้องวิดีโอระบบ DV
Mini DV (1994) พัฒนามาจากDVPRO บริษัท Panasonic และDVCAM จากบริษัทโซนี่ ภาพที่บันทึกแบบ DV มีความคมชัดมาก (ใกล้เคียงกับกล้องที่ใช้ถ่ายทอดออกอากาศของสถานีโทรทัศน์) ระบบบันทึกวิดีโอของ DV จะง่ายต่อการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่าน USB ซึ่งออกแบบมาเป็นมาตรฐานของ DV อยู่แล้ว และ DVได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากบริษัทที่ผลิตภาพยนต์ต้นทุนต่ำหรือผลิตรายการโทรทัศน์
Digital 8 (1999) ใช้เทปชนิด Hi 8 ของโซนี่ซึ่งเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน กล้องชนิด Digital 8 บางรุ่นสามรถอ่านเทป Hi 8 แบบอนาล็อกได้ซึ่งเป็นความสามารถหรือจุดขายที่มีลักษณะคล้ายกับ Mini DV บางรุ่นเท่านั้น ส่วน Digital 8 หรือ D 8 ของโซนี่และนิยมใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์และการผลิตภาพยนตร์


กล้องวิดีโอระบบ DV



กล้องวิดีโอระบบ MPEG –2
MICRO MV ใช้ตลับเทปที่มีขนาดเล็กเท่ากล่องไม้ขีดซึ่งบริษัทโซนี่เป็นผู้ผลิตแต่เพียงผู้เดียวและมีโปรแกรมสำหรับการตัดต่อที่เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทโซนี่ โดยใช้ร่วมกับโปรแกรมปฏิบัติการMicrosoft Window ต่อมามีโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมตัดต่อที่ใช้กับระบบปฏิบัติการ ลีนุกส์ ได้อีกด้วย
DVD ซึ่งเป็นที่ติดตลาดที่มากที่สุดในขณะนี้ โดยมีทั้ง DVD-R (แผ่นแบบเขียนอย่างเดียว) หรือ
DVD –RAM ซึ่งแผ่น DVD มาตรฐานจะมีขนาด 8 เซนติเมตร บันทึกวิดีโอได้มากกว่า 30 นาที ส่วน DVD-R สามารถเล่นได้โดยใช้เครื่องเล่น DVD ทั่วๆไปแต่มีข้อเสียอย่างหนึ่งคือไม่สามารถเขียนซ้ำลงไปที่แผ่น DVD-R ที่เขียนข้อมูลลงไปก่อนหน้านั้นแล้ว
DVD –RAM เราสามารถที่จะเขียนซ้ำลงไม่ได้ หากยังมีพื้นที่ว่างบนหน่วยความจำนั้นเพียงพอหรือแม้แต่ถ้าหาก DVD –RAM นั้นเต็มแล้วเรายังสามารถที่จะลบหรือย้ายออกไปยังหน่วยความจำอื่นๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้ แต่ข้อเสียของ DVD –RAM ยังมีเยอะ
กว่า DVD อยู่มาก แต่ยังมี DVD –RW เป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งสามรถที่จะเขียนข้อมูลลงไป หรืออ่านซ้ำๆกัน หลายๆครั้งได้แต่มีราคาที่แพงกว่า DVD-R ถ้าเราต้องการที่จะเขียนข้อมูลครั้งเดียว DVD-R จะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดเรื่องราคาและค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตาม DVD ทั่วๆไปไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเชื่อม ต่อหรือใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพียงแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิงซึ่ง DVD บางตัวยังมีการบันทึกระบบเสียงรอบทิศทางหรือเซอร์ราวด์ อีกด้วย
HDTV มีการบันทึกสัญญาณภาพเพื่อตัดปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวนโดยใช้การถ่ายทำในห้องที่มีการออกแบบที่ดีเยี่ยม เพื่อคุณภาพของสัญญาณและเสียงที่บันทึกจะอยู่ในรูปแบบของ HDTV MPEG –2










กล้อง Camcorder MPEG –2 กล้อง Camcorder MPEG –4

กล้องวิดีโอดิจิตอลและการประยุกต์ใช้งานในอนาคต
เนื่องจากมีผู้ผลิตกล้องออกมาเพื่อให้ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ Windows และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในโปรแกรม Window เท่านั้น ส่วนผู้ใช้ระบบปฏิบัติการอื่นๆ ไม่สามรถใช้งานได้ อย่างไรก็ตาม ได้มี Cinelerra และ Kino ซึ่งเป็นผู้เขียนโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Lenux ได้มีการเขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้งานและมีแนวโน้มว่าจะมีการพัฒนาโปรแกรมให้มีมาตรฐานและสามารถเชื่อมต่อกับ DV (กล้องวิดีโอดิจิตอล) ได้
และมีแนวโน้มว่าผู้ใช้งานกล้องวิดีโอทั่วๆไปจะไช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆนอกเหนือ จากระบบปฏิบัติการ Windows ดังนั้นจึงควรมีการเขียนโปรแกรมระบบปฏิบัติการอื่นๆขึ้นมาอีกหรือปรับเปลี่ยนมาตรฐานของกล้องวิดีโอดิจิตอล

Tags : ระบบภาพ

view