ระบบภาพเสียง, ระบบภาพฉาย,ระบบเสียง,ชุดประชุม,ไมค์ประชุม) ==>
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

สายสัญญาณ

สายสัญญาณ

สายลำโพง และ สายสัญญาณ
    สายลำโพง และ สายสัญญาณ ระบบภาพ ระบบเสียง

สายลำโพง และสายสัญญาณนั้นมีความสำคัญต่อคุณภาพเสียงอย่างชัดเจน แต่มักจะถูกมองข้ามเสมอๆ เมื่อคุณใช้เครื่องเสียงฟังเพลง ทางเลือกที่ถูกต้องสำหรับสายลำโพง และสายสัญญาณนั้น จะทำให้ชุดเครื่องเสียงที่คุณใช้อยู่เปล่งประสิทธิภาพได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกัน สายแย่ๆ หรือสายที่นำมาใช้แล้วไม่เข้ากันกับระบบ ก็จะไม่ให้ความเป็นดนตรีกับคุณได้เต็มที่ อย่างที่มันควรจะเป็น และการรู้ว่าจะซื้อสายอย่างไรให้ดีที่สุดสำหรับเครื่องเสียง และประหยัดที่สุดจึงเป็นเรื่องจำเป็นเสียแล้ว 

ในบทความนี้เรากำลังจะพาคุณไปมองถึงสายลำโพง และสายสัญญาณ เราจะกล่าวถึงสายแบบ Balanced และ Unbalanced, Bi-Wiring การจับคู่สายกับเครื่องเสียงของคุณ และวิธีการหาสายที่ดีที่สุดให้คุ้มค่ากับเงินที่คุณจ่ายไป ยิ่งกว่านั้น เราจะพาคุณไปดูกันซิว่า สายแพงๆ เหล่านั้นแน่จริงหรือเปล่าด้วย 

แต่สำหรับตอนนี้ เรามาเริ่มกันก่อนด้วยการทราบถึงความหมายในทางเครื่องเสียงเกี่ยวกับสายลำโพง และสายนำสัญญาณดังต่อไปนี้


   CABLE 
ใช้อธิบายการเชื่อมต่อสายใดๆ ในระบบเครื่องเสียง CABLE ยังใช้อ้างอิงถึงการนำสัญญาณระหว่าง เพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ และลำโพงอีกด้วย ซึ่งสายลำโพงนั้นจะต้องลำเลียงสัญญาณแบบ HIGH - CURRENT จากเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ไปยังลำโพง 

INTERCONNECT 
เป็นตัวนำสัญญาณเช่นเดียวกัน แต่เป็นการนำสัญญาณที่ระดับ LINE-LEVEL ซึ่งเป็นการส่งผ่านสัญญาณภายในระบบเครื่องเสียง INTERCONNECTS เป็นการเชื่อมต่อระหว่างแหล่งโปรแกรมที่ใช้อยู่ในระบบ (เช่น เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นซีดี จูนเนอร์ เทปเด็ค) และปรีแอมปลิไฟเออร์ และระหว่างปรีแอมปลิไฟเออร์เอง กับเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ ซึ่งการเชื่อมต่อระหว่างกันเช่นนี้ จะต้องใช้สายสัญญาณที่เรียกว่า INTERCONNECTED CABLE 

UNBALANCED INTERCONNECT 
สายแบบนี้มีตัวนำสัญญาณภายในสาย 2 ตัวนำสัญญาณ และโดยปกติจะต้อง TERMINATED ด้วยขั้วต่อสัญญาณแบบ RCA และมักจะรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ SINGLE-ENDED INTERCONNECT 

BALANCED INTERCONNECT 
สายแบบนี้มีตัวนำสัญญาณภายในสาย 3 ตัวนำสัญญาณแทนที่จะมีเพียง 2 เหมือน UNBALANCED INTERCONNECT และจะต้อง TERMINATED ด้วยขั้วต่อสัญญาณแบบ 3-PIN XLR CONNECTOR เท่านั้น BALANCED INTERCONNECT นั้นจะนำมาใช้สำหรับต่อระหว่างเครื่องที่มีขั้วต่อแบบ BALANCED INPUT และ OUTPUT รับกันเท่านั้น 

DIGITAL INTERCONNECT 
เป็นสายนำสัญญาณที่มีตัวนำสัญญาณเพียงหนึ่ง และจะนำสัญญาณ STEREO DIGITAL AUDIO เท่านั้น ซึ่งก็จะผนวกมาให้กับภาค CD TRANSPORT หรือเครื่องเสียงแบบ DIGITAL อื่นใด ที่จะต้องต่อเข้ากับ DIGITAL PROCESSOR 

BI-WIRING 
เป็นอีกวิธีสำหรับการเชื่อมต่อเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ไปยังลำโพง ด้วยการใช้สายเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเส้น แทนที่จะใช้สายเพียงเส้นเดียวอย่างวิธีการปกติ 

RCA PLUG AND JACK 
บรรดาปลั๊ก และแจ๊คต่างๆ นั้นเป็นส่วนที่มีพบเห็นเป็นปกติสำหรับสัญญาณที่เป็นแบบ UNBALANCED ในเครื่องเสียงก็จะมี RCA แจ๊ค พร้อมสำหรับรับ RCA ที่เป็นขั้วต่อจากสายสัญญาณ UNBALANCED INTERCONNECT มาเสียบเข้าด้วยกัน 

XLR PLUG AND JACK 
ปลั๊กแบบ XLR นั้นเป็นขั้วต่อที่มี 3 PIN เพื่อที่จะมาต่อกับสายต่อระหว่างเครื่องแบบ BALANCED INTERCONNECT ตัว XLR แจ๊คนั้น จะมีแบบที่ผลิตขึ้นมาติดกับตัวเครื่องเล่นด้วย เพื่อรับตัวปลั๊กที่เป็นแบบ XLR ด้วยกัน 

BINDING POST 
เป็นการเสียบต่อบนเครื่องเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ และตัวลำโพง ที่แสดงจุดเชื่อมต่อสำหรับสายลำโพง 

FIVE-WAY BINDING POST 
เป็นรูปแบบหนึ่งของ BINDING POST ที่จะสามารถรองรับทั้งสายเปลือยขั้วต่อแบบ SPADE LUG หรือ BANANA PLUG ตัว FIVE-WAY POST นั้นจะพบอยู่ในเครื่องเล่นประเภท เพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ และลำโพง 

SPADE LUG 
เป็นขั้วต่อลำโพงสำหรับลำโพงที่มีลักษณะแบน ทำเป็นง่ามคล้ายกับส้อมที่สามารถเสียบเข้ากับขั้วต่อลำโพง และเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ได้พอดี ขั้วแบบนี้เป็นขั้วต่อที่นิยมใช้กันมาที่สุดสำหรับการ TERMINATE สายลำโพง 

BANANA PLUG AND JACK 
BANANA PLUG นั้นบางทีเราสามารถพบมีการใช้กับสายลำโพงแทนการใช้ SPADE LUG ตัวBANANA PLUG นั้นจะเสียบเข้าในช่องที่ทำไว้โดยเฉพาะกับขั้วต่อแบบห้าทาง หรือที่แจ๊คแบบ BANANA เครื่องเสียงในแถบยุโรปจะใช้ BANANA JACK กับแอมปลิไฟเออร์ และลำโพง 

AWG (AMERICAN WIRE GAUGE) 
เป็นหน่วยวัดความหนาของตัวนำสัญญาณ สำหรับสายลำโพง ค่า AWG ที่มีตัวเลขต่ำๆ จะมีความหนาที่มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น LAMP CORD มีค่า AWG เท่ากับ 18 ก็จะแปลได้ว่า มีค่าเท่ากับ 18 GAUGE 

.

ความคิดเห็นที่ 3
   สายลำโพงและสายสัญญาณนั้นอันที่จริงคุณทราบไหมว่าสามารถได้ยินเสียงรบกวนหรือความเพี้ยนที่น่ารำคาญได้ ผมมีรายการเกี่ยวกับลักษณะเสียงที่ได้จากการใช้สายสัญญาณและสายลำโพงมาฝาก ลองดูนะครับไม่แน่ว่าคุณอาจจะได้อะไรจากตรงนี้ไปบ้างก็ได้ 

- เสียงแหลมแตกหยาบกระด้าง 
สายหลาย ๆ ชนิดให้เสียงแหลม หยาบ ๆ ฟังแล้วไม่สบายหู หรือฟังไม่ทน 

- เสียงแหลมที่สดและคมเหมือนโลหะ 
เสียงฉาบ CYMBAL จะฟังดูแล้วพุ่ง ล้ำหน้ากว่าเครื่องลมทองเหลืองที่ให้เสียงได้เจิดจ้ากว่าอยู่แล้ว และมักจะฟังออกว่าเสียงจะข่มซาวนด์สเตจ แทนที่จะให้เสียงแบบที่กระชับเป็นรูปทรง เสียงนักร้องที่ออกเสียงตัว S หรือ SH นั้น เน้นเกินไป เป็นเหตุให้ฟังแล้วเสียงแหลมดูล้ำหน้า ฟังดูแล้วเสียงแหลมไม่เปิด ซึ่งอันที่จริงฟังแล้วสายใด ๆ ก็ดีควรจะให้ลักษณะเสียงที่เปิดโล่งไม่บีบ และให้ปลายเสียงแหลมได้สุด โดยปราศจากการแต่งแต้มที่ให้เสียงแหลมสดเกินจริง 

- เสียงตีกันและไม่มีความชัดเจน 
เสียงเปียโนที่ฟังแล้วสดใสนั้นจะกลืนกับเสียงร้องของนักร้องที่ฟังรวมกันแล้วให้ความรู้สึกคลุมเครือแทนที่จะได้ความรู้สึกว่ามีความชัดเจนอยู่ในเพลงและฟังออกถึงลักษณะ TEXTURE ของเสียง 

- ฟังแล้วเหนื่อย 
สายสัญญาณ สายลำโพงที่ไม่ดีนั้นจะฟังออกอย่างรวดเร็วและได้ลักษณะอย่างที่กล่าวมาคือฟังแล้วเหนื่อย ไอ้ที่ว่าฟังแล้วเหนื่อยนี่ คือ ความรู้สึกปวดหัวและจะรู้สึกพักผ่อนคลายเมื่อดนตรีจบลง หรือเบาลง นี้คือความรู้สึกว่าไม่ฟังเสียยังจะดีกว่า พอดนตรีจบหรือหยุดลงจะรู้สึกเบาหูขึ้นมาทันที นี่เป็นความแย่ที่สุดที่อุปกรณ์เครื่องเสียงจะแย่ได้ ส่วนสายที่ดีนั้น (เฉพาะกับชุดเครื่องเสียงที่ดี) จะทำให้คุณฟังแล้วสามารถเปิดระดับความดังได้มากกว่าปกติและฟังได้นานกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าสายสัญญาณหรือสายลำโพงที่ซื้อมาฟังแล้วเหนื่อย ก็คงไม่ต้องไปหาสาเหตุอื่นที่เป็นต้นตอสำหรับปัญหาแล้วกระมัง 

- ขาดเวทีเสียงและความชัดลึก 
ลองฟังแผ่นที่ให้ความเป็นธรรมชาติของเสียงดี ๆ ที่ให้ความชัดลึกและ AMBIENCE ดีๆ แล้วนำมาฟังกับสายที่ให้ความลึกของซาวนด์สเตจ และสามารถบ่งบอกตำแหน่งของเครื่องดนตรีเป็นสามมิติได้ หากเป็นสายที่ไม่ดีคุณจะไม่ได้ลักษณะอย่างที่กล่าวมา 

- แทบไม่มีรายละเอียดเหลืออยู่เลย 
สายสัญญาณและสายลำโพงบางตัวฟังแล้วนุ่มนวล แต่ลักษณะดังกล่าวกลับบดบังรายละเอียดของเสียงที่ควรจะได้ไป ทดลองโดยการฟังที่ระดับความดังที่เบากว่าปกติ หากสามารถฟังออกถึงรายละเอียดของเสียงเครื่องดนตรีได้ก็ถือว่าเป็นสายที่อยู่ในระดับที่มีคุณภาพ 

- ได้เสียงเบสส์หนา เอื่อยและไม่สามารถฟังออกว่าเสียงอะไร 
สายที่มีคุณภาพไม่ดีนักมักจะสร้างปัญหาเรื่องเบสส์ ที่ฟังแล้วได้ลักษณะเสียงที่ช้าๆ หนาๆ และไม่สามารถจับโน้ตเบสส์ได้ เสียงเบสส์ที่ต่ำ ๆ นั้นจะฟังดูอ้วนกว่าที่จะฟังออกเป็นเนื้อเป็นหนัง เสียงเบสส์มักจะครางหึ่งๆ แทนที่จะเดินไปตามโน้ตดนตรีปกติ 

- ไดนามิกหดหาย 
การทดลองฟังสายสัญญาณสายลำโพงที่สามารถทำให้เรารู้สึกรับรู้ถึงโครงสร้างดนตรีที่แตกต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็นวงดนตรีที่มีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตาม ยกตัวอย่างเช่นเสียง การตีคอร์ตกีตาร์นั้นควรจะได้เสียงที่เร็ว โดยมีขอบเขตที่แน่นอน ส่วนเสียงจากวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่อย่างเช่น วงออร์เคสตร้า ในช่วงโหมโรง ควรจะรู้สึกได้ถึงกำลังและการตกกระทบที่ชัดเจน

โดย: BaCkSTaGe...หล่อ ๆ  [15 ก.ค. 52 13:58] ( IP A:202.142.204.1 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   โครงสร้างของสายนำสัญญาณและสายลำโพง 
สายลำโพงและสายสัญญาณนั้นประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ สามอย่างคือ 

1. ตัวนำสัญญาณ 
2. ฉนวนห่อหุ้ม 
3. ส่วนเชื่อมต่อ 

โดยที่ตัวนำสัญญาณนั้นจะเป็นตัวนำพาสัญญาณออดิโอ ฉนวนทำหน้าที่ห่อหุ้มและป้องกันบริเวณรายรอบตัวนำสัญญาณ และการเชื่อมต่อจะเป็นส่วนที่ใช้เชื่อมเข้ากับอุปกรณ์ออดิโอ 


นอกจากนี้ยังมีเทคนิคบางประการที่จะช่วยให้คุณสามารถใช้สายลำโพง และสายสัญญาณกับระบบเครื่องเสียงของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

1. เนื่องจากการเชื่อมสายสัญญาณมีการลดทอนประสิทธิภาพของสัญญาณที่วิ่งผ่านตัวมันเองเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ดังนี้หากคุณใช้ความยาวของสายที่น้อย ๆ ก็น่าจะได้ผลกับเสียงที่ดีกว่า ดังนั้นควรจะพิจารณาให้สายลำโพงและสายสัญญาณนั้นมีความยาวที่พอเหมาะ 

2. ดูแลให้สายลำโพงทั้งข้างซ้ายและขวา สายสัญญาณทั้งข้างซ้ายและข้างขวา มีความยาวเท่าเทียมกัน 

3. ถ้าคุณมีสายที่ยาวอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นสายลำโพงหรือสายสัญญาณก็ตาม อย่าม้วนมันรวมเข้าด้วยกันที่ด้านหลังลำโพงหรือชั้นวางเครื่องเสียง เนื่องจากสาเหตุที่ว่าการม้วนสายรวมเข้าด้วยกันจะเป็นการเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะหรือบุคลิกลักษณะของเสียง หากจำเป็นให้ทำการลากสายที่ยาวนั้นให้ตัดขวางกับอีกเส้นหนึ่งจะช่วยลดปัญหานี้ได้ 

4. หมั่นถอดบรรดาสายลำโพงแลสายสัญญาณออกจากขั้วเพื่อทำความสะดาดขั้วต่อทั้งหมดอย่างสม่ำเสมอ เพราะการทำความสะอาดขั้วต่อต่าง ๆ จะทำให้ทางเดินของสัญญาณนั้นดีขึ้น และทำให้เสียงที่ได้ยินดีขึ้นด้วย 

5. เวลาเราต่อหรือถอดปลั๊กประเภท RCA ควรจะจับที่ตัวปลั๊กให้มั่นแล้วดึงออกมา อย่าใช้แรงถึงที่ตัวสายอย่างเด็ดขาด 

6. ควรตรวจตราให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่อบรรดาปลั๊ก RCA ต่าง ๆ โดยเฉพาะ SPADE LUG ที่อยู่บนตัวเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์กับตัวลำโพง พยายามให้พื้นที่สัมผัสระหว่างตัว SPADE LUG และขั้วต่อแน่นหนาเสมอ 

7. หลีกเลี่ยงการหักมุมหรืองอสายสัญญาณและสายลำโพงอย่างรุนแรง 


.


   credit


ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก อ.วิจิตร บุญชู เป็นอย่างสูง 


.....


    สายลำโพงเฉพาะทางเนี่ยมันดีกว่าสายไฟอย่างไรครับ 
โดย: addy

สายลำโพงเฉพาะทางเนี่ยมันดีกว่าสายไฟอย่างไรครับ..คือผมเสนอซื้อสายลำโพงไปอ่ะครับ...ขอเป็นหลักวิชาการเข้าใจง่ายพอไปอธิบายต่อให้หัวหน้าฟังได้ครับ...ตอนนี้ใช้ VCT VFF แล้วแต่จะหยิบจับได้ 

ไฟฟ้า ก็เกี่ยวกับ แรงดันไฟฟ้า กระแสร์ไฟฟ้า ทั้งนั้นแหละครับ
สายที่เราจะใช้งาน ก็ต้องดูเรื่อง 
1 พี้นที่หน้าตัดขนาดสายที่จะใช้ 
2 วัสดุที่นำมาทำเป็นตัวนำไฟฟ้า 
3 และก็ฉนวนที่หุ้มสายไฟ ที่เหมาะสมกับการใช้งานครับ 

ต้องทนแรงดัน และกระแสร์ ทั้งนันแหละครับไม่ว่าสายไฟฟ้า หรือสายลำโพงครับ ก็ออกมาจาก power amp ก็ไฟฟ้าไม่ใช่หรือครับ 
เอาเป็นการบ้านครับ
ทำไมเขาบอกว่า ถ้ากระแสร์ไฟฟ้าผ่านเยอะๆ สายต้องมีขนาดใหญ่(พื้นที่หน้าตัด)
สายลำโพงที่ดีทำไมต้องเป็นเส้นฝอยเล็กๆ

คืออย่างนี้ครับ สายลำโพงกับสายไฟฟ้า มันก็คือ ตัวนำไฟฟ้า เหมือนกันครับ ดังนั้นมีเรื่อง กระแสร์ กับแรงดันมาเกี่ยวข้องทั้งคู่ครับ

สายไฟฟ้า เราเน้นเรื่อง กระแสร์ เพราะแรงดันคงที่ 220 V ใช่ไหมครับ พื้นที่หน้าตัด มีผลต่อจำนวน electron ที่จะต้องวิ่งบนผิว ของตัวนำ ดังนั้น พื้นที่หน้าตัด ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ ก็มีพื้นที่ ให้ electron วิ่งมากเท่านั้นครับ 

แต่สายลำโพง มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับเสียง โดยใช้แรงดันไฟฟ้า ขึ้นๆ ลงๆ จำลองลักษณะ sound wave ครับ ดังนั้น การไหลของ electron หากมันไหลไปตามสายได้คล่องๆก็ดีใช่ไหมครับ สายยิ่งใหญ่ มันก็ไหลได้ดีกว่าเป็นธรรมดา ใช่ไหมครับ คิดว่าเป็นท่อน้ำก็แล้วกันครับ จะได้เข้าใจง่ายๆ ทีนี้ ไฟฟ้ามันมีคุณสมบัติอีกอย่างคือ มันไหลบนผิวของตัวนำไฟฟ้าครับ ไม่ได้ไหลในแกนกลางเหมือนท่อน้ำ ดังนั้น หากเราใช้สายเป็นฝอยเล็กๆ เล็กๆจำนวนมากๆ มารวมกัน จนได้พื้นที่หน้าตัด เช่น เอาเส้นฝอยๆ 1000 เส้น มารวมกันได้พื้นที่หน้าตัด 2.5 mm เมื่อเทียบ กับสาบไฟฟ้า ที่มีสายเส้นเดียว มีพื้นที่หน้าตัด 2.5 mm เหมือนกัน สายฝอยๆก็จะมีพื้นที่ผิวของตัวนำไฟฟ้ามากกว่าใช่ไหมครับ เสียงดนตรี มัน ขึ้นๆลงๆ กระแทกกระทั้น เราก็อยากให้ electron มันไหลสบายๆ โดยพื้นที่หน้าตัดเท่ากัน ว้สุตัวนำไฟฟ้าเดียวกัน เราก็จะเลื่อกเส้นฝอยๆ มาทำสายลำโพงมากกว่าครับ และค่าตัวนำของ สายลำโพง เราก็จะเลือกใช้ของดีราคาแพง โดยเทียบค่า มาตราฐานของ AWG (America wire gauge) เพื่อให้มีค่าความต้านทานต่ำที่สุดในสาย และก็พยายามให้สายลำโพงสั้นที่สุด เพื่อให้สูญเสียในสายน้อยที่สุดครับ ดังนั้นมันแพงครับ ด้วยเหตุฉะนี้ครับ


จาก http://www.soundkrub.com

Tags : สายสัญญาณ ระบบภาพ ระบบเสียง

view