ระบบภาพเสียง, ระบบภาพฉาย,ระบบเสียง,ชุดประชุม,ไมค์ประชุม) ==>
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ค่าความต้านทานในไมโครโฟน

ค่าความต้านทานในไมโครโฟน

 

การใช้งานไมโครโฟนก็ ย่อมมีเรื่องของค่าอิมพีแด๊นซ์(Impedance) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งแน่นอนการทำระบบเสียงย่อมต้องมีเรื่องของไมโครโฟนเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ แล้ว   เราจึงจำแนกไมโครโฟนโดยใช้ค่าความต้านทานเป็นตัวแบ่งประเภท  ซึ่งสามารถแบ่งออกมาได้ สองประเภทหลัก  ได้แก่ [/b]
   1. High  Impedance อิมพี แด๊นซ์( Impedance) ซึ่งมีค่าความต้านทานสูง (High  impedance)  กำหนดค่าระหว่าง 5k โอห์ม  ไปจนถึง 100 k โอห์ม  ด้วยค่าความต้านทานที่มีอยู่สูงนี้  มีผลโดยตรงต่อกำลังของสัญญาณที่ให้ออกมาน้อยเนื่องจากสูญเสียไปจากค่าความ ต้านทานที่มีมากในไมโครโฟนประเภทนี้  ข้อด้อยจึงตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นคือ เสียงรบกวนสูงที่แทรกซึมเข้ามาได้ง่ายๆ  เช่น เสียงจี่  เสียงฮัม  ไมโครโฟนที่มีค่าความต้านทานสูงนี้จะไม่เหมาะเลยต่อการต่อสายสัญญาณที่ยาวๆ หลายๆเมตร    เพราะการต่อสายสัญญาณที่ยาว  ก็ยิ่งทำให้สูญเสียกำลังของสัญญาณมากขึ้น  เพราะต้องเร่งเกนขยายเพิ่มขึ้นที่ปรีไมโครโฟนเพื่อชดเชยการสูญเสียของสัญญาณ เสียง     ดังนั้น  สำหรับการทำระบบเสียงมืออาชีพ  เราจะไม่ใช้งานไมโครโฟนประเภทนี้   ไมโครโฟนลักษณะนี้จะใช้หัวขั้วต่อแบบ unbalanced ซึ่งได้แก่หัวขั้วต่อแบบ TS[/b]
  2. Low  Impedance อิมพีแด๊นซ์ ตํ่า หมายถึง  มีค่าความต้านทานตํ่า (low  impedance) กำหนดค่าความต้านทานอยู่ระหว่าง 200 โอห์ม  ถึง 600 โอห์ม  ด้วยค่าความต้านทานที่ตํ่านี้  ทำให้เกิดค่าความต้านทานต่อการเดินทางของสัญญาณเสียงที่น้อยลง  ทำให้กำลังของสัญญาณที่ออกมามีการสูญเสียน้อยลง   ก็จะได้กำลังสัญญาณที่ดีขึ้นมีผลโดยตรงทำให้เสียงรบกวนตํ่า  ย่านความถี่สมบูรณ์  ในขณะเดียวกันสามารถเดินสายสัญญาณได้ยาวมากขึ้น   ดังนั้นสำหรับการทำระบบเสียงแบบมืออาชีพจึงนิยมใช้แต่ไมโครโฟนประเภทนี้ทั้ง หมด  ซึ่งจะใช้หัวขั้วต่อแบบ XLR (balanced)[/b]

ขอขอบคุณ ที่มา http://www.koratsound.com/home/index.php?topic=11852.0


 
 

Tags : ค่าความต้านทานในไมโครโฟน

view